วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การละเล่นพื้นบ้านภาคใต้

การละเล่นพื้นบ้านภาคใต้


          การละเล่นเด็กไทย เป็นการละเล่นของเด็กตั้งแต่สมัยโบราณ เกิดจากการช่างคิดช่างจินตนาการและความสร้างสรรค์ การสังเกตสิ่งรอบตัว และการใฝ่เรียนรู้ใฝ่เรียน นำมาผสมผสานเข้ากับความสนุกในแบบฉบับของคนสยามได้อย่างลงตัว จนทำให้เกิดเป็นการละเล่นชนิดต่าง ๆ ขึ้นมา สมัยนี้มักไม่ค่อยได้พบเห็นการละเล่นประเภทเหล่านี้กันบ่อยนัก เพราะยุคสมัยเปลี่ยนไป ดังนั้น เราจึงควรนำการละเล่นทั้งหมดเท่าที่พอทราบได้ รวบรวมและสรุป นำมาบันทึกเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้อ้างอิง เพื่อให้สิ่งเหล่านี้นั้นไม่ล่วงเลยสูญหายไปตามกาล
      ประเภทของการละเล่นเนื่องจากการละเล่นของไทยเรานั้นมีมากมายจนนึกไม่ถึง (กรมพลศึกษารวบรวมไว้ได้ถึง 1,200 ชนิด) แต่พอจะแบ่งคร่าว ๆได้เป็น 2 ประเภท ใหญ่ ๆ คือ การละเล่นกลางแจ้ง และการละเล่นในร่ม และในแต่ละประเภทก็ยังแบ่งย่อยอีกเป็นการละเล่นที่มีบทร้องประกอบ กับที่ไม่มีบทร้องประกอบ 
            การละเล่นกลางแจ้งที่มีบทร้องประกอบได้แก่ โพงพาง เสือไล่หมู่ อ้ายเข้อ้ายโขง ซ่อนหาหรือโป้งแปะ เอาเถิด มอญซ่อนผ้า รีรีข้าวสาร ที่มีคำโต้ตอบ เช่น งูกันหาง แม่นาคพระโขนง มะล็อกก๊อกแก็ก เขย่งเก็งกอย ที่ไม่มีบทร้องประกอบ ได้แก่ ล้อต๊อก หยอดหลุม บ้อหุ้น ลูกดิ่ง ลูกข่าง ลูกหิน เตยหรือตาล่อง ข้าวหลามตัด วัวกระทิง ลูกช่วง ห่วงยาง เสือข้ามห้วยเคี่ยว เสือข้ามห้วยหมู่ ตี่จับ แตะหุ่น ตาเขย่ง ยิงหนังสะติ๊ก ปลาหมอ ตกกะทะ ตีลูกล้อ การเล่นว่าว กระโดดเชือกเดี่ยว กระโดดเชือกคู่ กระโดดเชือกหมู่ ร่อนรูป หลุมเมือง ทอดกะทะ หรือหมุนนาฬิกา ขี่ม้าส่งเมือง กาฟักไข่ ตีโป่ง ชักคะเย่อ โปลิศจับขโมย สะบ้า เสือกันวัว ขี่ม้าก้านกล้วย กระดานกระดก วิ่งสามขา วิ่งสวมกระสอบ วิ่งทน ยิงเป็นก้านกล้วย การละเล่นในร่มที่มีบทร้องประกอบ ได้แก่ ขี้ตู่กลางนา ซักส้าว โยกเยก แมงมุม จับปูดำขยำปูนา จีจ่อเจี๊ยบ เด็กเอ๋ยพาย จ้ำจี้ 
             ที่ไม่มีบทร้องประกอบ ได้แก่ ดีดเม็ดมะขามลงหลุม อีขีดอีเขียน อีตัก เสือตกถัง เสือกันวัว หมากกินอิ่ม สีซอ หมากเก็บ หมากตะเกียบ ปั่นแปะ หัวก้อย กำทาย ทายใบสน ตีไก่ เป่ากบ ตีตบแผละ กัดปลา นาฬิกาทางมะพร้าว กงจักร ต่อบ้าน พับกระดาษฝนรูป จูงนางเจ้าห้อง การเล่นเลียนแบบผู้ใหญ่เช่นเล่นเป็นพ่อเป็นแม่ เล่นแต่งงาน เล่นหม้อข้าวหม้อแกง แคะขนมครกเล่นขายของ เล่นเข้าทรง ทายคำปริศนา นอกจากนั้นยังมีทบร้องเล่น เช่น จันทร์เอ๋ย จันทร์เจ้า ขอข้าวขอแกงแกง....และบทล้อเลียน เช่น ผมจุก คลุกน้ำปลา เห็นขี้หมานั่งไหว้กระจ๊องหง่อง เป็นต้น การละเล่นที่เล่นกลางแจ้งหรือในร่มก็ได้ที่ไม่มีบทร้อง ได้แก่ ลิงชิงหลัก ขายแตงโม เก้าอี้ดนตรี แข่งเรือคน ดมดอกไม้ปิดตาตีหม้อ ปิดตาต่อหาง โฮกปี๊บ เป่ายิงฉุบ 
        ของเล่นของเด็กภาคใต้ ทางภาคใต้ของธรรมชาติที่เด็กนำมาเล่นกันมากคือมะพร้าวลูกยาง (พารา) และเม็ดมะม่วงหิมพานต์ซึ่งหาง่ายมีทุกจังหวัด ของเล่นจากมะพร้าว ได้แก่ ชนควายพร็อกพร้าว อุปกรณ์การเล่นคือควาย พร็อกพร้าว โดยใช้เปลือกมะพร้าวทำลำตัว กะลามะพร้าวทำเขา และเม็ดมะกล่ำดำทำตา ทำเสร็จแล้วจะได้รูปแบบนี้คนเล่นจะทำควายพร็อกพร้าวมาคนละตัว แล้วมางัดกัน โดยใช้มือจับลำตัวควายหันหน้าคว่ำลงให้เขาทาบกับพื้น งัดไปงัดมา ของใครหักคนนั้นก็แพ้ 
            ถีบลูกพร้าว ใช้มะพร้าวแก่จัดไม่ปอกเปลือก 1 ผล ผู้เล่นแบ่งเป็นสองกลุ่ม จับไม้สั้นไม้ยาวหรือใช้วิธี "ชันชี" เพื่อหากลุ่มผู้ถีบผลมะพร้าวกลุ่มแรก เมื่อเริ่มเล่นให้ทั้งสองกลุ่มยืนเป็นวงกลมหันหน้าเข้าหากันโดยยืนสลับกัน นำผลมะพร้าววางกลางวงวางกันมะพร้าวลงดิน จากนั้นผู้เล่นทั้งหมดจับมือกันให้แน่น ถ้าคนเล่นมี 6 คน 3 คนจะถีบยับผลมะพร้าว อีก 3 คนเป็นหลัก ถ้าฝ่ายถีบมีใครล้มก้นแตะพื้นก็แพ้ ให้ฝ่ายเป็นหลักมาถีบแทน 
        ร่อนใบพร้าว นำใบมะพร้าวที่ยังติดก้านมาตัดให้ด้านที่มีก้านโตเสมอกัน ใช้มือฉีกใบมะพร้าวออกให้มีขนาดเท่ากัน วิธีเล่นคือจับใบมะพร้าวชูขึ้นเหนือไหล่ จับส่วนที่เป็นใบซึ่งฉีกออกแล้วขว้างไปสุดแรง ใบมะพร้าวก็จะหลุดออกจากก้าน ใครขว้างได้ไกลที่สุดก็เป็นผู้ชนะ 
        ของเล่นจากลูกยาง ชักลูกยาง นำลูกยาง (พารา) มาเจาะเอาเนื้อออกหมด เจาะรูด้านบนด้านล่างและด้านข้าง ใช้ไม้ไผ่เหลาแล้วผูกติดกับเชือกด้ายสอดไม้ไผ่เข้าไปในเมล็ดยางทางรูด้านบนหรือด้านล่าง ดึงเชือกด้ายออกมาทางรูด้านข้าง ติดไม้ไผ่แบน ๆ ทางด้านบน 1 ชิ้น เมื่อจะเล่นหมุนแกนให้เชือกด้ายม้วนเข้าไปอยู่ในลูกยางจนเกือบสุด ดึงปลายเชือกแรง ๆแล้วปล่อย แกนไม้ไผ่ก็จะหมุนไปหมุนมาตามแรงดึง ผู้เล่นต้องดึงและปล่อยกลับอยู่เรื่อย ๆ จะทำให้แกนและไม้ไผ่แบน ๆ ด้านบนกระทบกันของใครไม้ไผ่หลุด คนนั้นก็แพ้


   ชื่อ          อีฉุด
ภาค        ภาคใต้
จังหวัด   กระบี่

วิธีการเล่น
         ผู้เล่นตกลงกันว่าใครจะเป็นผู้เล่นก่อนหลัง โดยผู้เล่นมีลูกเกยคนละลูก หลังจากนั้นก็ขีดตารางเป็นช่องสี่เหลี่ยมจำนวน ๖ ช่อง หรือเรียกว่า ๖ เมือง โดยแบ่งเป็นซีกซ้าย ๓ เมือง ซีกขวา ๓ เมือง
การเริ่มเล่น ผู้เล่นคนที่ ๑ เริ่มเล่นโดยการทอยลูกเกยลงไปในเขตเมืองที่ ๑ แล้วกระโดดยืนเท้าเดียวในเมืองที่ ๑ หลังจากนั้นใช้ปลายเท้าฉุดลูกเกยให้ผ่านไปในเขตเมืองที่ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ตามลำดับแล้วก็ฉุดลูกเกยออกจากเขตเมืองที่ ๖ ต่อไปผู้เล่นคนเดิม ต้องทอยลูกเกยลงในเมืองที่ ๒ แล้วกระโดดยืนเท้าเดียวในเมืองที่ ๑ กระโดดต่อไปในเมืองที่ ๒ หลังจากนั้นก็เล่นเหมือนเดิมไปเรื่อยๆทุกเมือง จนถึงเมืองที่ ๖ เมื่อทอยลูกเกยและฉุดได้ครบทั้ง ๖ เมืองแล้วให้ผู้เล่นกระโดดด้วยเท้าข้างเดียวจังหวะเดียวลงบนเมืองที่ ๑ ถึง เมืองที่ ๖ ตามลำดับ ห้ามกระโดดหลายครั้งมิฉะนั้นถือว่า ตาย ต้องให้คนอื่นๆเล่นต่อ ถ้าเล่นครบท่านี้แล้วไม่ตาย ให้เล่นในท่าต่อไป คือ เอาลูกเกยวางบนหลังเท้าแล้วสาวเท้าลงในเมืองทั้ง ๖ เมือง ตามลำดับ แต่เท้าหนึ่งลงในเมืองหนึ่งได้เพียงครั้งเดียว เช่น เท้าซ้ายเหยียบลงในเมืองที่ ๑ เท้าขวาเหยียบลงในเมืองที่ ๒ เท้าซ้ายเหยียบลงในเมืองที่ ๓ สลับกันไปเช่นนี้จนกว่าจะครบทุกเมือง ลูกเกยนั้นต้องไม่ตกจากหลังเท้าและเท้านั้นต้องไม่เหยียบเส้น ท่าต่อไปนั้นให้ผู้เล่นปิดตา เดินที่ละก้าวโดยไม่ต้องวางลูกเกยบนหลังเท้าขณะเดินขณะที่ก้าวเท้าลงในแต่ละเมืองผู้เล่นนั้นต้องถามว่า "อู่ บอ" หมายความว่า เหยียบเส้นหรือไม่ ถ้าไม่เหยียบผู้เล่นคนอื่นๆจะตอบว่า "บอ" ถ้าเหยียบเส้นตอบว่า "อู่" เมื่อผู้เล่นที่ปิดตาเหยียบเส้นถือว่า ตาย ต้องเปลี่ยนให้คนอื่นๆเล่นต่อไป ถ้าเล่นยังไม่ตายผู้เล่นนั้นมีสิทธิ์ในการจองเมือง โดยผู้เล่นนั้นต้องเดินเฉียงไปแบบสลับฟันปลาไปตามช่องต่างๆ ให้ลงเท้าได้เพียงเท้าเดียว เช่น ลงเท้าซ้ายในเมืองที่ ๑ ลงเท้าขวาในเมืองที่ ๓ และลงเท้าซ้ายในเมืองที่ ๕ แล้วกระโดดสองเท้าลงในหัวกระโหลก กระโดดเท้าพร้อมกับหันหลัง และผู้เล่นก็โยนลูกเกยข้ามศีรษะของตน
เองถ้าลูกเกยไปตกอยู่ในเมืองใดเมืองหนึ่ง เมืองนั้นจะเป็นของผู้เล่นทันที ดังนั้นผู้เล่นมีสิทธิ์ยืนสองเท้าในเมืองนั้นได้ เมื่อได้เมืองแล้วก็ให้เล่นอย่างนั้นต่อไป จนกว่าจะตายจึงจะต้องเปลี่ยนให้ผู้อื่นเล่นต่อ

โอกาสหรือเวลาที่เล่น
     ในการเล่นอีฉุดนั้นไม่มีการกำหนดโอกาสและเวลาที่เล่น เพราะสามารถเล่นได้ในทุกโอกาสและการเล่นอีฉุดนั้นเป็นการเล่นของเด็กที่นิยมกันมากในท้องถิ่นจังหวัดกระบี่

คุณค่าและแนวคิด
  ในการเล่นอีฉุดนั้นก่อให้เกิดความสามัคคี ความรักความผูกพันธ์กันในหมู่คณะและเป็นการฝึกความสัมพันธ์ของร่างกายในส่วนต่างๆ ทั้ง มือ เท้า และสมอง ได้เป็นอย่างดี



   ชื่อ       ฉับโผง
ภาค        ภาคใต้
จังหวัด   กระบี่

อุปกรณ์และวิธีเล่น
       ฉับโผง เป็นวัตถุประดิษฐ์ที่เด็กกระบี่ในสมัยก่อนนิยมเล่นกัน วิธีการประดิษฐ์นำไม้ไผ่ขนาดเล็ก มาตัดให้เหลือ ๑ ปล้องมีรูกลวงตรงกลางตลอดลำ (ยาวประมาณ ๑ คืบ) เรียกส่วนนี้ว่า "บอกฉับโผง"จากนั้นนำไม้ไผ่ความยาวประมาณ ๑.๕ คืบมาเกลาให้กลม ขนาดพอที่จะกระทุ้งเข้าไปในกระบอกไม้ไผ่ที่เตรียมไว้ได้ พร้อมทั้งใช้ไม้ไผ่ขนาดเท่ากระบอกฉับโผงความยาวประมาณ ๐.๕ คืบ สวมโคนไม้ไผ่ส่วนที่ยาวเกินกระบอก ชิ้นส่วนนี้เรียกว่า "ด้ามจับ"
วิธีการเล่น นำลูกพลา (ผลไม้ป่ามีลักษณะผลเป็นช่อคล้ายมะเขือพวงแต่ลูกเล็กกว่า) อัดเข้าไปในกระบอกฉับโผง แล้วมือข้างหนึ่งถือกระบอกมือข้างหนึ่งถือด้ามจับสอดปลายด้ามจับกระทุ้งไปด้านหน้าแรงๆให้แรงอัดดันลูกพลาพุ่งออกไปนอกกระบอก

โอกาสและเวลาที่เล่น
      การเล่นฉับโผงไม่จำกัดโอกาสและเวลาที่เล่น สามารถใช้เล่นยิงกันแทนปืนหรือยิงวัตถุที่เป็นเป้าได้ทุกโอกาส

คุณค่าและแนวคิด
   การเล่นฉับโผงส่วนใหญ่แล้วนิยมเล่นกันเป็นกลุ่มๆก่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะฝึกความแม่นยำและฝึกความสัมพันธ์ระหว่างตากับมือและเป็นการฝึกให้เด็กๆได้นำวัสดุจากธรรมชาติมาประดิษฐ์เป็นของเล่น


   ชื่อ          ขว้างราว
ภาค        ภาคใต้
จังหวัด   กระบี่

อุปกรณ์และวิธีเล่น
ขว้างราว เป็นการเล่นที่นิยมของเด็กในจังหวัดกระบี่ กล่าวคือ นำไม้ไผ่มาผ่าเกลาให้ มีขนาดกว้าง ๑ นิ้ว ยาว ๓๐ เซนติเมตร ทำเป็นราว
การเล่นไม่จำกัดจำนวนผู้เล่นส่วนใหญ่ประมาณ ๓-๕ คน นำราวมาตั้งโดยมีหินรองปลายราวทั้ง ๒ ข้างให้สูงจากพื้นดินประมาณ ๓ นิ้ว แล้วขีดเส้นเป็นเขตสำหรับยืนขว้างให้ห่างจากราวประมาณ ๕ เมตร หลังจากนั้นก็นำเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ไปวางบนราวตามที่ได้ตกลงกันว่าวางคนละกี่เมล็ด จากนั้นก็เริ่มขว้าง ถ้าคนแรกขว้างถูกและควํ่าหมดถือว่าจบเกมส์คนขว้างจะได้เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ทั้งหมด ผู้เล่นแต่ละคนต้องนำเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ไปวางบนราวใหม่ แต่ถ้าขว้างไม่ถูกหรือควํ่าไม่หมดคนที่สองก็ขว้างต่อ จนกระทั่งควํ่าหมดจึงเริ่มเล่นใหม่

       โอกาสและเวลาที่เล่น
การเล่นขว้างราว นิยมเล่นกันในช่วงฤดูที่มะม่วงหิมพานต์ออกผล ไม่จำกัดเวลาในการเล่น

       คุณค่าและแนวคิด
      การเล่นขว้างราวเป็นการฝึกสมาธิ ความแม่นยำและความสัมพันธ์กันระหว่างสายตากับมือ และก่อให้เกิดความสามัคคีกันในหมู่คณะ



   ชื่อ          เพลงบอก
ภาค        ภาคใต้
จังหวัด    นครศรีธรรมราช

อุปกรณ์และวิธีการเล่น
     ๑. อุปกรณ์
     เพลงบอกคณะหนึ่งมีแม่เพลง ๑ คนและลูกคู่อีก ๔ ถึง ๖ คน มีฉิ่งเป็นดนตรีประกอบเพียงอย่างเดียว การร้องเพลงบอกใช้ภาษาถิ่นปักษ์ใต้ โดยร้องด้นเป็นกลอนสดแท้ ๆ ใช้ปฏิภาณร้องไปตามเหตุการณ์ที่พบเห็น แม่เพลงต้องมีความรอบรู้ไหวพริบดี และฝึกฝนจนแม่นยำในเชิงกลอน
     ๒. วิธีการเล่น
     สำหรับวิธีการขับเพลงบอก เมื่อแม่เพลงร้องจบวรรคแรกลูกคู่ก็รับครั้งหนึ่งโดยรับว่า "ว่าเอ้ว่าเห้" พร้อม ๆ กับจะต้องคอยตีฉิ่งให้เข้ากับจังหวะ ถ้าหากแม่เพลงว่าวรรคแรกซ้ำอีก ลูกคู่ก็จะรับว่า "ว่าทอยช้าฉ้าเหอ" และเมื่อแม่เพลงว่าไปจนจบบทแล้ว ลูกคู่จะต้องรับวรรคสุดท้ายอีกครั้งหนึ่ง
ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างกลอนเพลงบอกประชัน ตอนที่ปานบอดได้โต้ตอบกับเพลงบอกรุ่งอันแสดงถึงความสามารถในเชิงเพลงบอก
รุ่ง : กูไม่เป็นเวสสันดร (รับ)) เพราะจะเดือดร้อนที่สุด กูจะเป็นนายเจตบุตรที่ร่างกายมันคับขัน (รับ)
คอยยิงพุงชูชก (รับ) ที่สกปรกเสียครัน ถือเกณฑ์ขวางไว้ ไม่ให้มึงเข้าไป (รับ)
ตัวอย่างการว่าเพลงบอกดังนี้
(แม่เพลง "รุ่ง") กูไม่เป็นเวสสันดร
(ลูกคู่) ว่าเอ้ว่าเห้ เวสสันดร
(แม่เพลง "รุ่ง) กูไม่เป็นเวสสันดร
(ลูกคู่) ว่าทอยช้าฉ้าเหอ เวสสันดร
(แม่เพลง "รุ่ง") เพราะจะเดือดร้อนที่สุด กูจะเป็นนายเจตบุตรที่ร่างกายมันคับขัน
(ลูกคู่) ที่ร่างกายมันคับขัน กูจะเป็นนายเจตบุตร ที่ร่างกายมันคับขัน
ปาน : ดีแล้วนายเจตบุตร (รับ) เป็นผู้วิสุทธิ์สามารถ เป็นบ่าวพระยาเจตราชที่เขาตั้งให้เป็นใหญ่ (รับ)
ถือธนูหน้าไม้ (รับ) คอยทำลายคนเข้าไป เขาตั้งให้เป็นใหญ่ คอยเฝ้า อยู่ปากประตูป่า (รับ)
คนอื่นอื่นมีชื่อเสียง (รับ) เขาได้เลี้ยงวัวควายแต่นายเจตบุตรรุ่งนายเขาใช้ให้เลี้ยงหมา (รับ)

โอกาส/เวลาที่เล่น
       ๑. เพลงบอก นิยมเล่นกันในวันตรุษสงกรานต์ เป็นการบอกกล่าวป่าวร้องให้ชาวบ้านทุกละแวกได้ทราบว่าถึงวันขึ้นปีใหม่แล้ว โดยเฉพาะรายละเอียดการเปลี่ยนปี หรือการประกาศสงกรานต์ประจำปีซึ่งสมัยก่อนไม่ได้มีการพิมพ์ปฏิทินอย่างเช่นในปัจจุบัน
พอถึงปลายเดือนสี่ย่างเดือนห้า ซึ่งเป็นระยะที่ชาวนาส่วนมากเก็บเกี่ยวขึ้นยุ้งขึ้นฉางเสร็จแล้ว เวลาพลบค่ำตามละแวกบ้านจะได้ยินเสียงเพลงบอกแทบจะกล่าวได้ทุกหมู่บ้านของจังหวัดนครศรีธรรมราช ออกตระเวณตามบ้านใกล้เรือนเคียงโดยมีบุคคลซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่บ้านนั้น ๆ เป็นคนนำทาง คอยไปปลุกเจ้าของบ้านให้เปิดประตูรับ
เมื่อเจ้าของบ้านเปิดประตูรับ แม่เพลงก็จะขับกลอนเพลงบอกขึ้นในทันที เนื้อความตอนแรกมักจะเป็นบทไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และกล่าวชมเชยเจ้าของบ้านตามสมควร เจ้าของบ้านจะเชื้อเชิญขึ้นบนเรือน ยกเอาหมากพลู บุหรี่ เหล้ายาปลาปิ้งออกมาเลี้ยง ตอนนี้เพลงบอกจะว่าเพลงเล่นตำนานสงกรานต์ในปีนั้นให้ฟัง ถ้าเจ้าของบ้านพอใจก็จะให้รางวัล
         ๒. เพลงบอกเล่าเรื่องราวข่าวสารต่าง ๆ เช่น บอกข่าวเชิญไปทำบุญกุศลที่นั่นที่นี่ตามเหตุการณ์ จะเห็นได้ว่าเพลงบอกเกิดขึ้นเพื่อใช้ในการป่าวประกาศเรื่องต่าง ๆ ให้ประชาชนทราบนั่นเอง เหตุผลก็คือในสมัยโบราณคนที่รู้หนังสืออ่านออกเขียนได้มีน้อยกิจการพิมพ์ก็ไม่แพร่หลาย ข่าวที่ใช้เพลงบอกเป็นสื่อจะได้รับความสนใจจากชาวบ้านมากกว่าการสื่อสารธรรมดา เพราะฟังแล้วเกิดความสนุกด้วย
        ๓. เพลงบอกประชัน เป็นการโต้เพลงบอกให้ผู้ชมฟัง โดยการจัดเวที เพื่อประชันโต้ตอบ ไม่มีการกำหนดหัวข้อและเวลา แล้วแต่ใครจะหยิบยกเรื่องอะไรมาว่า แต่ส่วนใหญ่จะเป็นการเปรียบเทียบ และต้องว่าในทำนองข่มกัน หาทางโจมตีและกล่าวแก้ได้ทันควัน การตัดสินแพ้ชนะใช้เสียงผู้ชมเป็นหลัก โดยฟังจากเสียงโห่หรือโต้กันจนอีกฝ่ายหนึ่งยอมแพ้

คุณค่าและแนวคิด
        การเล่นเพลงบอกให้คุณค่าดังนี้
       ๑. เป็นการใช้ภูมิปัญญาเพื่อประชาสัมพันธ์ประกาศบอกข่าวแก่ชาวบ้าน ในสมัยที่การสื่อสารยังไม่เจริญและไม่มีปฏิทินบอกวันเหมือนอย่างในปัจจุบัน ทำให้ชาวบ้านทราบรายละเอียดเกี่ยวกับสงกรานต์และข่าวต่าง ๆ
       ๒. น้ำเสียง ถ้อยคำในการว่าเพลงบอก ให้ความครึกครื้นสนุกสนาน ข่าวที่มากับเพลงบอก จึงได้รับความสนใจจากชาวบ้านมากกว่าบอกข่าวธรรมดา ปัจจุบันเพลงบอกจึงนำมาใช้บอกบุญ โฆษณาสินค้าต่าง ๆ ประชาสัมพันธ์การเลือกตั้ง และเชิญชวนให้คนไปใช้สิทธิลงคะแนนเสียง
       ๓. นักว่ากลอนได้แสดงความสามารถในกลอนปฏิภาณ และศิลปะในการขับกลอน การประชันอวดฝีปากในเชิงกลอน ผู้ว่ากลอนต้องมีความรอบรู้ เฉลียวฉลาด หลักแหลม ไหวพริบดี และแม่นยำในเชิงกลอน นับเป็นวิธีการพัฒนาความรู้ของชาวบ้านได้อีกวิธีการหนึ่ง





   ชื่อ          หมากขุม
ภาค        ภาคใต้
จังหวัด   นครศรีธรรมราช

อุปกรณ์และวิธีการเล่น
       อุปกรณ์ในการเล่น
     ๑). รางหมากขุม เป็นรูปเรือทำจากไม้ ยาวประมาณ ๑๓๐ เซนติเมตร กว้างประมาณ ๒๐ เซนติเมตร มีหลุมเรียงเป็น ๒ แถว หลุมกว้างประมาณ ๗ เซนติเมตร ลึกประมาณ ๔ เซนติเมตร มีด้านละ ๗ หลุม เรียกหลุมว่า เมือง หลุมที่อยู่ปลายสุดทั้งสองข้างเป็นหลุมใหญ่กว้างประมาณ ๑๑ เซนติเมตร เรียกว่า หัวเมือง
    ๒) ลูกหมาก นิยมใช้ลูกสวดเป็นลูกหมาก ใส่ลูกหมากหลุมละ ๗ ลูก จึงต้องใช้ลูกหมาก ในการเล่น ๙๘ ลูก
     ๓) ผู้เล่นมี ๒ คน


วิธีการเล่น
        ๑) ผู้เล่นนั่งคนละข้างกับรางหมากขุม แต่ละคนใส่ลูกหมากหลุมละ ๗ ลูก ทั้ง ๗ หลุม ส่วนหลุมหัวเมืองไม่ต้องใส่ให้เว้นว่างไว้
       ๒) การเดินหมาก ผู้เล่นจะเริ่มเดินพร้อมกันทั้ง ๒ ฝ่าย เรียกว่า แข่งเมือง โดยหยิบลูกหมากจากหลุมเมืองของตนหลุมใดก็ได้ แต่ส่วนใหญ่จะหยิบหลุมสุดท้ายของฝ่ายตนเอง เพราะคำนวนว่าเม็ดสุดท้ายจะถึงหัวเมืองของตนพอดี การเดินหมากจะเดินจากขวาไปซ้าย โดยใส่ลูกหมากลงในหลุม ถัดจากหลุมเมืองที่หยิบลูกหมากขึ้นมาเดิน ใส่ลูกหมากหลุมละ ๑ เม็ด รวมทั้งใส่หลุมหัวเมืองฝ่ายตนเอง แล้ววนไปใส่หลุมของฝ่ายตรงกันข้าม ยกเว้นหลุมหัวเมือง เมื่อเดินลูกหมากเม็ดสุดท้ายใส่ในหลุม ให้หยิบลูกหมากทั้งหมดในหลุมนั้นขึ้นมาเดินหมากต่อไป โดยใส่ในหลุมถัดไป เล่นเดินหมากอย่างนี้จนลูกหมากเม็ดสุดท้ายหมดลงในหลุมที่เป็นหลุมว่าง ถือว่าหมากตาย ถ้าเดินหมากตายในหลุมเมืองของฝ่ายตรงข้ามก็ถือว่าสิ้นสุดการเดินหมาก แต่ถ้า
ตายในหลุมเมืองฝ่ายตนเอง ให้ผู้เล่นกินหมากหลุมเมืองซึ่งอยู่ตรงข้ามกับหลุมที่เราเดินหมากมาตาย โดยควักลูกหมากทั้งหมดในหลุมไปไว้ในหลุมหัวเมืองของฝ่ายตน เรียกว่ากินแทน เล่นอย่างนี้จนหลุมเมืองของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหมดลูกหมาก เดินต่อไปไม่ได้ ลูกหมากทั้งหมดจะไปรวมอยู่ในหลุมหัวเมืองของทั้ง ๒ ฝ่าย จึงเริ่มเล่นรอบใหม่ต่อไป
       ๓) การเดินหมากรอบสอง ผู้เล่นจะผลัดกันเดินทีละคน ทำเช่นเดียวกับการเดินรอบแรก นำลูกหมากจากหลุมหัวเมืองฝ่ายตนเองใส่ลงในหลุม ๆ ละ ๗ ลูก ในฝ่ายของตนเอง คราวนี้แต่ละฝ่ายจะมีลูกหมากไม่เท่ากัน ฝ่ายที่มีลูกหมากมากกว่าจะเป็นผู้เดินหมากก่อน ฝ่ายที่มีลูกหมากน้อยกว่าจะใส่ไม่ครบทุกหลุม หลุมใดมีไม่ครบให้นำลูกหมากที่เหลือไปใส่ในหลุมหัวเมืองฝ่ายตน หลุมใดไม่มีลูกหมากเรียกว่า เมืองหม้าย ตามปกติหลุมเมืองหม้ายจะปล่อยไว้หลุมปลายแถว หลุมเมืองหม้ายจะไม่ใส่ลูกหมาก ถ้าฝ่ายใดใส่จะถูกริบเป็นของฝ่ายตรงกันข้าม ในกากรเล่นจะเล่นจนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหมดลูกหมากเดินต่อไปไม่ได้และจะนับเมืองหม้าย ใครมีจำนวนเมืองหม้ายมากกว่าฝ่ายนั้นเป็นฝ่ายแพ้

        โอกาสหรือเวลาในการเล่น
การเล่นหมากขุมจะเล่นในยามว่างจากการงาน เล่นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เป็นพักผ่อนหย่อนใจ จึงเล่นได้ทั้งวัน

        คุณค่า สาระ แนวคิด
        ๑. การเล่นหมากขุม มีคุณค่าในการฝึกลับสมอง การวางแผนการเดินหมากจะต้องคำนวน จำนวนลูกหมากในหลุม ไม่ให้หมากตาย และสามารถกลับมาหยิบลูกหมากในหลุมของตนเองได้อีก ผู้เดินหมากขุมจึงต้องมีสายตาว่องไว คิดเลขเร็ว เป็นการฝึกวิธีคิดวางแผนจะหยิบหมากในหลุมใดจึงจะชนะฝ่ายตรงกันข้าม เป็นการฝึกให้ผู้เล่นรู้จักคิดวางแผนในการทำงานทุกอย่างสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
      ๒. เป็นการพักผ่อนหย่อนใจ นันทนาการภายในบ้าน ภายในชุมชน ให้ทั้งความสนุกสนาน และความใกล้ชิดระหว่างพี่น้อง ญาติมิตร
        ๓. ก่อให้เกิดการประดิษฐ์รางหมากขุม ที่มีความสวยงามและประณีต เป็นความภาคภูมิใจของผู้สร้างชิ้นงาน และยังสามารถสร้างรายได้ในการจำหน่ายรางหมากขุม





ตารีกีปัส

ตารีกีปัส

ตารีกีปัส เป็นนาฏศิลป์พื้นเมืองของชาวไทยมุสลิมทางใต้ คำว่า ตารีกีปัส เป็นภาษามลายูท้องถิ่น หมายถึง การฟ้อนรำที่ใช้พัดเป็นส่วนประกอบ ทำนองเพลงที่ใช้นำมาจากการแสดงชุด “ตาเรียนเนรายัง” ซึ่งเป็นเพลงประกอบการแสดงระบำประมงของชาวมาเลเซีย ส่วนชื่อเพลง คือ อีนัง ตังลุง เป็นเพลงผสมระหว่างมลายูกับจีน

การแต่งกาย มี ๒ ลักษณะ คือ ๑.การแต่งกายแบบแสดงคู่ชายหญิง
นิยมแต่งตามลักษณะของชนชั้นสูงของชาวไทยมุสลิมเต็มยศ ได้แก่
ชาย จะใส่เสื้อตือโล๊ะบลางอ มีลักษณะเป็นเสื้อคอกลมหรือคดตั้งแบบจีนแขนกว้างยาวจรดข้อมือ ผ่าอกครึ่งตัว กางเกงจะมีลักษณะเป็นกางเกงขายาวคล้ายกางเกงจีน ผ้านุ่งใช้ผ้ายกเงิน – ยกทอง หรือผ้าซอแกะนุ่งทับกางเกงสั้นเหนือเข่าเล็กน้อย จับเป็นดอกด้านหนึ่งหรือทำจีบทบกัน ๕ จีบ เพื่อเน้นความแปลกใหม่ เข็มขัด ภาษามลายูท้องถิ่นเรียกว่า “เป็นแนะ” มีความกว้างประมาณ ๕ นิ้ว คาดทับผ้าซอแกะอีกทีหนึ่งหมวก ทำด้วยผ้าเนื้อดีสีดำ ลักษณะคล้ายหมวกหนีบ 
หญิง จะสวมเสื้อ เรียกว่า “บานง” ภาษามลายูกลางจะเรียกว่า “บันดง” ซึ่งเป็นเสื้อเข้ารูปแขนยาว เน้นรูปทรงคอวี ผ่าอกหน้าตลอด มักติดกระดุมทองเป็นระยะ ตัวเสื้อยาวคลุมสะโพก เสื้อบานงมักใช้ผ้าค่อนข้างบาง อาจปักฉลุลวดลายตรงชายเสื้ออย่างสวยงาม และพับริมปกซ้อนไว้ตลอด ผ้าที่นิยมนำมาตัดเสื้อกันมาก คือ ผ้าลูกไม้ ผ้ากำมะหยี่ ผ้าต่วน และผ้าชีฟอง
ผ้านุ่ง ใช้ผ้าซอแกะหรือผ้าปาเต๊ะนุ่งสั้นแค่เข่า ทำเป็นจีบทบกันที่สะโพกทางด้านขวาประมาณ ๕ – ๗ จีบ ตามแบบการนุ่งผ้าของรัฐยะโฮร์ ประเทศมาเลเซียเพื่อเน้นความสะดวกในการร่ายรำ
ผม นิยมเกล้าผมขึ้นติดดอกไม้สีทองทางขวา ปักเรียงเป็นแถว

๒.การแต่งกายแบบผู้หญิงล้วน
เป็นการแต่งกายที่ประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อใช้ในการแสดงชุดพิธีเปิดสนามงานกีฬาเขตแห่งประเทศไทยครั้งที่ ๑๔จ.ปัตตานี พ.ศ. ๒๕๒๔ ซึ่งมีลักษณะสำคัญ คือ เสื้อในนาง ไม่มีแขนสีดำ ผ้านุ่งเป็นโสร่งบาติกหรือผ้าซอแกะ สอดดิ้นเงินทองแบบมาเลเซีย ตัดเย็บแบบหน้านางหรือเลียนแบบจับจีบหางไหล ผ้าสไบ สำหรับคลุมไหล่ จับจีบเป็นใบด้านหน้า

เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง
ได้แก่ ไวโอลิน รำมะนา ฆ้อง แมนโดลิน ขลุ่ย มาลากัส

อุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดง
ได้แก่ พัด มีลักษณะเป็นแพสีดำขนาดใหญ่ มีการฉลุลวดลายสวยงามปัจจุบันมีการตกแต่งพัดโดยติดแถบสีทองหรือสีอื่นๆ ที่ริมพัด แล้วใช้แพรสีสดตัดเป็นริ้วๆ

โอกาสที่ใช้แสดง
รำตารีกีปัสนิยมใช้แสดงในงานพิธีการ งานฉลอง และงานรื่นเริงทั่วไป

หนังตะลุง

หนังตะลุง คือ ศิลปะการแสดงประจำท้องถิ่น อย่างหนึ่งของภาคใต้ เป็นมหรสพที่นิยมแพร่หลายอย่างยิ่ง มาเป็นเวลานาน นักวิชาการเชื่อว่ามหรสพการแสดงเงา ประเภทหนังตะลุงนี้ เป็นวัฒนธรรมเก่าแก่ของมนุษยชาติ เคยปรากฏแพร่หลายทั้งในแถบประเทศยุโรปและเอเชีย ในแถบเอเชียการแสดงหนังตะลุงได้แพร่หลายเข้าสู่เอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ มีประเทศอินโดนีเซีย (ชวา) เขมร พม่า มาเลเซีย และประเทศไทยแต่เดิมคนในท้องถิ่นภาคใต้เรียกหนังตะลุงสั้นๆ ว่า “หนัง” ดังคำกล่าวที่ได้ยินกันว่า “ไปแลหนังโนรา” จึงสันนิษฐานว่า คำว่า “หนังตะลุง” คงจะเริ่มใช้เมื่อมีการ นำหนังจากภาคใต้ไปแสดงให้เป็นที่รู้จักในภาคกลาง จึงได้เกิด คำ “หนังตะลุง” ขึ้น เพื่อไม่ให้ซ้ำกับหนังใหญ่ ซึ่งแต่เดิม เรียกว่า “หนัง” เช่นเดียวกัน หนังจากภาคใต้เข้าไปเล่น ในกรุงเทพฯ ครั้งแรกในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัว โดยพระยาพัทลุง (เผือก) นำไปเล่นแถวนางเลิ้ง หนังที่เข้าไปครั้งนั้นเป็นนายหนังจากจังหวัดพัทลุง คนกรุงเทพฯ จึงเรียก “หนังพัทลุง” ต่อมาเสียงเพี้ยนเป็น “หนังตะลุง”
หนังตะลุงเป็นการเล่าเรื่องราวที่ผูกร้อยเป็นนิยาย ดำเนินเรื่องด้วยบทร้อยกรองที่ขับร้องเป็นสำเนียงท้องถิ่น หรือที่เรียกกันว่าการ “ว่าบท” มีบทสนทนาแทรกเป็นระยะและใช้การแสดงเงาบนจอผ้าเป็นสิ่งดึงดูดสายตาของผู้ชม ซึ่งการว่าบท การสนทนา และการแสดงเงานี้ นายหนังตะลุง เป็นคนแสดงเองทั้งหมดอุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงหนังตะลุงที่สำคัญ ได้แก่ จอหนัง ไฟสำหรับใช้ส่องแสง เครื่องดนตรีหนังตะลุง ประกอบด้วย ปี่ใน โหม่ง ทับ กลองตุ๊ก ฉิ่ง และแตระ โดยมีนักดนตรีเรียกว่า “ลูกคู่” ทำหน้าที่บรรเลงขณะแสดง ในบรรดาเครื่องดนตรีทั้งหมด “ทับ” เป็นเครื่องกำกับจังหวะ และท่วงทำนองที่สำคัญที่สุด ผู้บรรเลงดนตรีชิ้นอื่นๆ ต้องคอยฟังและยักย้ายจังหวะตามเพลงทับ
nt001
nt002ส่วนรูปหนังที่ใช้ในการแสดงประกอบด้วย รูปฤๅษี รูปพระอิศวร รูปเจ้าเมือง-นางเมือง รูปพระเอก-นางเอก รูปเทวดา รูปยักษ์ รูปตัวตลก และรูปต่างๆ ซึ่งจะเก็บไว้ใน “แผงหนัง” โดยในส่วนของตัวหนังนี้ “ตัวตลกหนังตะลุง” เป็นตัวละครที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง และเป็นตัวละครที่ “ขาดไม่ได้” สำหรับการแสดงหนังตะลุง บทตลกคือเสน่ห์ หรือสีสัน ที่นายหนังจะสร้างความประทับใจให้กับคนดู เมื่อการแสดงจบลง สิ่งที่ผู้ชมจำได้ และยังเก็บไปเล่าต่อก็ คือบทตลก นายหนังตะลุงคนใดที่สามารถสร้างตัวตลกได้มี ชีวิตชีวาและน่าประทับใจ สามารถทำให้ผู้ชมนำบทตลก นั้นไปเล่าขานต่อได้ไม่รู้จบ ก็ถือว่าเป็นนายหนังที่ประสบ ความสำเร็จในอาชีพโดยแท้จริง

มโนราห์

มโนราห์หรือ “โนรา” ศิลปวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาของชาวใต้
โดย...นายนิยม  กุมกาญจนะ
ต.เทพกระษัตรี อ.ถลาง จ.ภูเก็ต

(เนื้อหาและภาพประกอบเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน)
           มโนราห์ หรือ “โนรา” ที่คนใต้เรียกชื่อกล่าวขานกัน แรกเริ่มได้เกิดขึ้นในสมัยอยุธยา ได้รับอิทธิพลจากอินเดียโบราณ มีเครื่องดนตรี
ประกับ คือ โหม่ง ฉิ่ง ทับ กลอง ปี่ เรียกว่า เบ็ญจสังคีต ซึ่งเกิดขึ้นครั้งเรียกที่ เมืองพัทลุง หรือปัจจุบันคือ ตำบลบางแก้ว จังหวัดพัทลุง เป็น
ศิลปะถ่ายทอดมาจากรุ่นบรรพชนสู่รุ่นลูก รุ่นหลาน จนสืบกันมาจนถึงปัจจุบันนี้


เครื่องดนตรีของมโนราห์ประกอบไปด้วย
          ๑. ทับ (โทนหรือทับโนรา)
          ๒. กลอง เป็นกลองทัดขนาดเล็ก
          ๓. ปี่ เป็นเครื่องเป่าเพียงชิ้นเดียว
          ๔. โหม่ง คือ ฆ้องคู่
          ๕. ฉิ่ง
          ๖. แตระ หรือ แกระ คือ กรับ มี ทั้งกรับ

เครื่องแต่งกายของมโนราห์ ประกอบด้วยสิ่งสำคัญต่อ ไปนี้
          ๑. เทริดเป็นเครื่องประดับ ศรีษะของตัวนาย ๒.เครื่องลูกปัด เครื่องลูกปัดจะร้อยด้วยลูกปัดสี ๓. ปีกนกแอ่น หรือ ปีกเหน่ง มักทำด้วย
แผ่นเงินเป็นรูปคล้ายนก ๔. ซับ ทรวง หรือทับทรวง หรือตาบ สำหรับสวมห้อยไว้ตรงทรวงอก ๕. ปีก หรือที่ชาวบ้าน เรียกว่า หางหรือหางหงส์
นิยมทำด้วยเขาควาย มีพู่ทำด้วยด้ายสีติดไว้ เหนือปลาย ปีก ใช้ลูกปัดร้อยห้อยเป็นดอกดวงรายตลอด ๖. ผ้านุ่ง เป็นผ้ายาวสี่เหลี่ยมผืนผ้า
๗. เพลา เหน็บเพลา หนับเพลา ก็ คือ สนับเพลา สำหรับ สวมแล้วนุ่งผ้าทับ ๘. หน้าผ้า ลักษณะเดียวกับชายไหว ถ้าเป็นของโนราใหญ่
๙. ผ้าห้อย คือ ผ้า สีต่าง ๆ ที่คาดห้อยคล้ายชายแครง ๑๐. กำไล ต้นแขนและปลายแขน เป็นกำไลสวมต้นแขน เพื่อขบรัดกล้ามเนื้อให้ดูทะมัด
ทะแมงและเพิ่มให้สง่างามยิ่งขึ้น ๑๑. กำไล กำไลของโนรามัก ทำด้วยทองเหลือง ทำเป็น วงแหวน ใช้สวมมือ และเท้าข้างละหลาย ๆ วง
๑๒. เล็บ เป็นเครื่องสวมนิ้ว มือให้โค้งงาม คล้ายเล็บกินนร ๑๓. หน้าพราน เป็นหน้ากากสำหรับตัว "พราน" ซึ่ง เป็นตัวตลก ๑๔. หน้าทาสี หน้า
ผู้หญิง มักทาสีขาว


ท่ารำ
          ท่ารำของมโนห์รา ไม่ยึดหลักหรือรูปแบบ ทุกคณะสามรถรำได้ เพราะการรำโนรา เครื่องดนตรีจะบรรเลงตามท่ารำต้องรำให้เข้ากับ
จังหวะนั้น ๆ ด้วย เมื่อผู้รำจะเปลี่ยนท่ารำจากท่าหนึ่งไปยังอีกท่าหนึ่ง เครื่องดนตรีก็จะต้องเปลี่ยนเพลงไปด้วย การรำนั้นมีการรำที่เป็นแบบ
แผนมานานมากแล้ว โดยเฉพาะ อย่างท่ารำบทครูสอนรำ และบทประถม ก็ได้สืบต่อกันมาจนถึงรุ่นหลัง ท่ารำต่าง ๆ ก็เปลี่ยนไปบ้าง

การทรงตัวของผู้รำ ผู้ที่จะรำโนราได้สวยงามและมีส่วนถูกต้องอยู่มากนั้น จะต้องมีพื้นฐานการทรงตัว ดังนี้
          - ช่วงลำตัว จะต้องแอ่นอกอยู่เสมอ หลังจะต้องแอ่นและลำตัวยื่นไปข้างหน้า ไม่ว่าจะรำท่าไหน หลังจะต้องมีพื้นฐานการวางตัว
แบบนี้เสมอ
          - ช่วงวงหน้า วงหน้าหมายถึงส่วนลำคอจนถึงศีรษะ จะต้องเชิดหน้าหรือแหงนขึ้นเล็กน้อยในขณะรำ
          - การย่อตัว การย่อตัวเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง การรำโนรานั้นลำตัวหรือทุกส่วนจะต้องย่อลงเล็กน้อย นอกจากย่อลำตัวแล้ว เข่าก็จะต้อง
ย่อลงด้วย
         - ส่วนก้น จะต้องงอนเล็กน้อย ช่วงสะเอวจะต้องหัก จึงจะทำให้แลดูแล้วสวยงาม

การเคลื่อนไหว นับว่าเป็นสิ่งจำเป็นอีกอย่าง เพราะการรำโนราจะดีได้นั้น ในขณะที่เคลื่อนไหวลำตัว หรือจะเคลื่อนไหวส่วนใดส่วนหนึ่งก็ดี
เช่น การเดินรำ ถ้าหากส่วนเท้าเคลื่อนไหว ช่วงลำตัวจะต้องนิ่ง ส่วนบนมือและวงหน้าจะไปตามลีลาท่ารำ ท่ารำโนราที่ถือว่าเป็นแม่ท่ามาแต่
เดิมนั้นคือ " ท่าสิบสอง
ท่าสิบสอง โนราแต่ละคนแต่ละคณะอาจจะมีท่ารำไม่เหมือนกัน ซึ่งอาจจะได้รับการสอนถ่ายทอดมาไม่เหมือนกัน (ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว )
บางตำนานบอกว่ามีท่ากนก ท่าเครือวัลย์ ท่าฉากน้อย ท่าแมงมุมชักใย ท่าเขาควาย บางตำนานบอกว่ามีท่ายืนประนมมือ ท่าจีบไว้ข้าง ท่าจีบ
ไว้เพียงสะเอว ท่าจีบไว้เพียงบ่า ท่าจีบไว้ข้างหลัง ท่าจีบไว้เสมอหน้า
ท่ารำบทครูสอน เป็นท่าประกอบคำสอนของครูโนรา เช่น สอนให้ตั้งวงแขน เยื้องขาหรือเท้า สอนให้รู้จักสวมเทริด สอนให้รู้จักนุ่งผ้าแบบ
โนรา ท่ารำในบทครูสอนนี้นับเป็นท่าเบื้องต้นที่สอนให้รู้จักการแต่งกายแบบโนรา หรือมีท่าประกอบการแต่งกาย
ท่ารำยั่วทับ หรือ รำเพลงทับ เป็นการรำหยอกล้อกันระหว่างคนตีทับกับคนรำ โดยคนรำจะรำยั่วให้คนตีทับหลงไหลในท่ารำ เป็นท่ารำที่แอบ
แฝงไว้ด้วยความสนุกสนานและตื่นเต้น โดยผู้รำจะใช้ท่ารำที่พิสดาร เช่น ท่าม้วนหน้า ม้วนหลัง ท่าหกคะเมนตีลังกา
ท่ารำรับเทริด หรือ รำขอเทริด เป็นการรำเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียด เพราะการรำรับเทริดนิยมรำหลังจากมีการรำเฆี่ยนพรายหรือรำ
เหยียบลูกมะนาวเสร็จแล้ว ที่ต้องรำด้วยลีลาท่าที่สวยงาม นอกจากมีท่ารำแล้ว ยังมีคำพูดสอดแทรกโต้ตอบกันด้วย


กลอนที่ขับร้องประกอบกับการรำมีหลายบทมาก จึงขอนำกลอนสักบทมาเป็นตัวอย่างซึ่งกลอนบทนี้ชื่อว่า บทครูสอน ดังนี้
ครูเอยครูสอน สอนแล้วแม่นาครูสอนเสดื้องกรต่อง่า
ครูสอนให้ผูกผ้า สอนแล้วแม่นาผูกผ้าสอนให้ข้าทรงกำไหล
สอนให้ครอบเทริดน้อย สอนแล้วแม่นาครอบเทริดน้อยแล้วจับสร้อยพวงมาลัย
สอนให้ทรงกำไหล สอนแล้วแม่นาทรงกำไหลสอดใส่ซ้ายใส่ขวา
ครูให้เสดื้องเยื้องข้างซ้าย ออว่าเสดื้องเยื้องข้างซ้ายตีค่าได้ห้าพารา
ครูให้เสดื้องเยื้องข้างขวา ออว่าเสดื้องเยื้องข้างขวาตีค่าได้ห้าตำลึงทอง
ตีนถีบพนัก ถีบแล้วแม่นะพนักส่วนมือชักเอาแสงทอง
หาไหนจะได้เหมือนน้อง หาไหนแม่นะได้เหมือนน้องทำนองพระเทวดา

          ทั้งหมดนี้คือศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านของ มโนราห์ ซึ่งจริง ๆ ถ้าผู้ที่ฝึกรำนั้นรำได้คล่องแล้ว ต่อมาก็จะมีพิธีไหว้บูชาครู หรือที่เรียกว่า
“ครอบครู” เพื่อให้เกิดสิริมงคลและได้ให้ผู้ที่รำได้มีความเคารพ บูชาครูมโนราห์ เป็นการแสดงความซื่อตรงและรำลึกคุณงามความดีของครู
เป็นผู้ประสาทวิชาการรำมโนราห์ให้และเป็นการถ่ายทอดให้อนุชนรุ่นหลังสืบมา อีกส่วนหนึ่งของการรำมโนราห์ได้ภายในวงจะต้องประกอบ
ไปด้วย ผู้รำ คนบรรเลงดนตรี คนขับบทกลอน ต้องคอยประสานกันถึงจะมีความสมบูรณ์แบบ ถ้าหากว่าขาดส่วนใดไป ก็ไม่สามารถแสดงต่อ
หน้าสาธารณชนได้ เพราะขาดความสุนทรียภาพของการชมไปทุกส่วนย่อมมีความสำคัญมากไม่ว่าผู้ที่อยู่เบื้องหลัง อาทิ ตีกลอง ขับร้องกลอน
และอื่น ๆ หรือคนที่อยู่เบื้องหน้า คือ ตัวผู้รำที่สร้างความสุขให้กับผู้ที่มาชม ดังนั้นจะเห็นได้ว่ามโนราห์เป็นเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมที่ดีงาม
ที่ควรรักษาเอาไว้ให้อยู่จนถึงรุ่นลูกหลานสืบไป



การแสดงของศาสนาอิสลาม

การแสดงของศาสนาอิสลาม

การแสดงดาระ


                 ดาระ เป็นศิลปะการแสดงประเภทรำพื้นเมืองของชาวไทยอิสลาม ที่มีเฉพาะภายในจังหวัดสตูล มีความเป็นมาที่เก่าแก่ เนื้อเพลงมีหลายภาษา และมีความสัมพันธ์กับศาสนาอิสลาม ปัจจุบันหาชมได้ยาก ดาระน่าจะมีถิ่นกำเนิดในแถบภาคตะวันออกกลาง ผ่านอินโดนีเซีย มาเลเซีย เข้าสู่ประเทศไทยทางจังหวัดสตูล หลังสงครามมหาเอเชียบูรพา การแสดงดาระได้ค่อย ๆ เสื่อมความนิยมจนเกือบจะสูญหายไป
            ในอดีตคนในหมู่บ้านจะนิยมรำดาระเพื่อความบันเทิง หลังจากทำงานหนักมาตลอดวัน มีผู้จัดตั้งเป็นคณะรำดาระเป็นอาชีพ ทุกงานที่เป็นงานมงคลจะจัดให้มีการแสดงดาระเสมอ เช่นงานแต่งงาน งานเข้าสุหนัด งานขึ้นบ้านใหม่ พิธีลาซัง งานเมาลิด วันฮารีรายอ และงานรื่นเริงต่าง ๆ ปัจจุบันการแสดงดาระหาชมได้ยาก จะแสดงเฉพาะในโอกาสพิเศษเท่านั้น
            การแสดงดาระจะรำเป็นคู่ ๆ ไม่จำกัดจำนวน เดิมผู้แสดงเป็นชายล้วน แล้วแต่งคู่รำให้เป็นหญิง ต่อมาจึงเป็นชายจริงหญิงแท้ การแสดงจะเป็นลักษณะของการร่ายรำ หัวใจสำคัญอยู่ที่ความพร้อมเพรียง ท่ารำดาระแต่เดิมมีมากถึง ๔๔ เพลง ถือท่ารำ ๑ ท่าต่อเพลง ๑ เพลง ปัจจุบันนิยมแสดงเพียง ๖ - ๙ เพลง การแสดงดาระจะรำหลาย ๆ เพลงติดต่อกัน เช่นเดียวกับรองเง็ง และรำวงมาตรฐาน เริ่มจากเพลงไหว้ครูทุกครั้ง และจบด้วยเพลงอำลา ท่ารำดาระมีท่านั่งรำ และท่ายืนรำ เริ่มแสดงโดยผู้แสดงออกมานั่งเรียงหน้ากระดานเป็นคู่ ชาย - หญิง การแสดงท่ารำของแต่ละเพลง มีการเดินวนแปรแถวในลักษณะต่าง ๆ ความสวยงามอยู่ที่การเคลื่อนไหวมือและเท้าตามจังหวะกลองรำมะนา ที่มีจังหวะช้า - เร็ว สลับกัน
            ผู้รำดาระส่วนใหญ่จะแต่งกายแบบพื้นเมือง คือผู้ชายสวมหมวกไม่มีปีก หรือบางทีก็สวมผ้าโพกศีรษะแบบเจ้าเมืองมลายูสมัยก่อน สวมเสื้อคอตั้งแขนยาวผ่าครึ่งอก นุ่งกางเกงขายาวขากว้างคล้ายกางเกงจีน สีเดียวกับเสื้อ แล้วใช้ผ้าโสร่งที่มีลวดลายสวยงาม ทับกางเกงและชายเสื้ออีกครั้งหนึ่ง โดยให้โสร่งยาวเหนือเข่า ส่วนผู้หญิงสวมเสื้อแขนยาวทรงกระบอก แบบเข้ารูปปิดสะโพก ผ่าอกตลอด ติดกระดุมทองเป็นระยะ นุ่งผ้าปาเต๊ะยาวา ยางกรอมเท้าใช้ผ้าบาง ๆ คลุมไหล่เรียกว่าผ้าสไบ มีเครื่องประดับด้วยทองรูปพรรณชนิดต่าง ๆ เพื่อความสวยงาม
            เครื่องดนตรีที่ใช้มีเพียงอย่างเดียวคือกลองรำมะนา จะใช้กี่ใบก็ได้ แต่โดยทั่วไปนิยมใช้เพียง ๔ ใบ มีผู้ตีซึ่งเป็นนักร้องและลูกคู่ ๔ คน ทำนองเพลงสูง ๆ ต่ำ ๆ มีท่วงทำนองสั้น ๆ ง่าย ๆ ร้องวนเวียนไปมากี่เที่ยวก็ได้ โดยแบ่งบทเพลงออกเป็นสองส่วน คือเนื้อเพลง และสร้อยเพลง เนื้อเพลงมีภาษาอาหรับพื้นเมือง ภาษาฮินดี ภาษาชวา ภาษาชาวเกาะซีลีเบส และภาษาไทย เนื้อหาของเพลงเริ่มตั้งแต่การกล่าวสรรเสริญพระเจ้า การคารวะผู้ชม กล่าวถึงปรัชญาในการดำเนินชีวิต และกล่าวลา ตัวอย่างเนื้อเพลงที่ถอดออกเป็นภาษาไทย เป็นดังนี้
            เพลงที่ ๑  มีเนื้อความว่า ในยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลง สิ่งนำทางและส่องสว่างแก่การดำรงชีวิตของมนุษย์นั้นมีศาสดาเป็นผู้นำมาซึ่งสัจธรรม
            เพลงที่ ๒  มีเนื้อความว่า คารวะถึงท่านผู้เป็นเจ้าของถิ่นฐาน ผู้เป็นเจ้าของบ้าน ที่ประตูถูกเปิดออกข้างหน้านี้ เราดั้นด้นมาถึงระยะทางที่แสนไกล จากดินแดนต่างถิ่นที่เรียกว่ามลายู เรามิได้หมายความว่าจะเป็นผู้รู้เป็นครูหรือผู้สอนสั่ง และแน่นอนสิ่งที่ส่งสู่ท่านคือความสันติ ทั้งยังหวังว่าไมตรีที่เสนอนี้คงไม่ถูกปฏิเสธ
            เพลงที่ ๓  มีเนื้อความว่า คุณลักษณะแห่งความบริสุทธิ์ และสายสัมพันธ์ของการเป็นพี่น้องกัน ได้มียอดหญิงผู้หนึ่งสืบทอดเจตนารมย์อันบริสุทธิ์อย่างเหนียวแน่น ผู้นั้นคือ ฟาติมะ ธิดาของท่านศาสดา ผู้มีจุดยืนอย่างมั่นคง และถ่ายทอดแบบอย่างนั้น เพื่อให้สตรีเจริญรอยตาม จนเรียกว่ากุลสตรี จงปฏิบัติแม้แบบอย่างนี้ผ่านมาเป็นเวลานานแล้วก็ตาม
            เพลงที่ ๔  มีเนื้อความว่า จงสังเกตการกระพือปีกของหมู่นก ที่บินข้ามมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ เพียงเพื่อแสวงหาปัจจัยยังชีพ อันเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงเผ่าพันธุ์ และมนุษย์ก็มิได้มีวิถึชีวิตที่แตกต่างจากมันเลย
            เพลงที่ ๕  มีเนื้อความว่า พระเจ้าแห่งข้าผู้เป็นใหญ่เหนือสิ่งใด อภัยเถิดหากนำหลักฐานเหล่านี้มาอ้าง ในทางที่ต้องย่างเท้าก้าวไป เพื่อค้นหาสัจธรรมจากพระองค์ผู้ประทานมา
            เพลงที่ ๖  มีเนื้อความว่า โลกคือโลก ซึ่งมีความหมายอยู่ในตัวเองว่าเป็นความไพศาล และเป็นสัจธรรมอันหยั่งรู้ได้ยาก หากมีความท้อคอยยอมแพ้แก่สิ่งนั้น แต่การอยู่อย่างผู้มีชัยนี้ยากยิ่ง
            เพลงที่ ๗,  ถอดความไม่ได้
            เพลงที่ ๙  เป็นเพลงอำลามีความว่า เหนือแผ่นดินดันอุดมด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหารนี้ มีโชคลาภโปรยหว่านอยู่สุดพรรณนา ข้าจำใจจากถิ่นนี้แล้ว และเดินทางกลับโดยอาศัยสายน้ำ ด้วยความห่วงอาลัยในการจาก หากข้าสามารถในการถอดดวงใจ วางไว้เบื้องหน้าท่านได้ ข้าก็จะถอดไว้เพื่อเป็นพยานยืนยันในความมีเจตนาบริสุทธิ์นี้

การแสดง ลิเกฮูลู  = ทำนองเสนาะ 

"...บ้านใครใครก็รัก บ้านใครใครก็หวง เต่าเล ปะการัง กุ้งกั้ง เราก็ห่วง โอะ โอ้ โอะ โอ กือเละมารี กลับมา มาช่วยเป็นหูเป็นตา ดูแลทะเลบ้านเรา..."
     ลิเกฮูลู เป็นการละเล่นพื้นบ้านในแถบจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ได้รับความนิยมมาก โดยเฉพาะในหมู่ชาวไทยมุสลิม เดิมทีมักเล่นกันภายหลังเสร็จสิ้นกิจกรรมทำไร่ไถนา ต่อมาได้ปรับเป็นการแสดงและใช้ในงานพิธีต่างๆ อาทิ งานมาแกปูโละงานสุหนัด งานเมาลิด หรืองานฮารีรายอ
"ลิเกฮูลู หรือดิเกฮูลู มาจากคำว่า ลิเก หรือดิเก และฮูลู ท่านผู้รู้ได้กล่าวไว้ว่า ลิเก หรือดิเก มาจากคำว่า ซีเกร์ หมายถึง การอ่านทำนองเสนาะ ส่วนคำว่า ฮูลู แปลว่า ใต้หรือทิศใต้ รวมความแล้วหมายถึง การขับบทกลอนเป็นทำนองเสนาะจากทางใต้.."
    อีกวรรคหนึ่งในหนังสือเล่มเดียวกันบอกว่า ลิเก หรือ ดิเกร์ เป็นศัพท์เปอร์เซีย มีความหมาย 2 ประการ คือ 1. เพลงสวดสรรเสริญพระเจ้า ซึ่งเรียกการสวดดังกล่าวนี้ว่า ดิเกร์เมาลิด 2. กลอนโต้ตอบนิยมเล่นกันเป็นกลุ่มคณะ เรียกว่า ลิเกฮูลู บ้างก็ว่า ได้รับแบบอย่างมาจากคนพื้นเมืองเผ่าซาไก เรียกว่า มโนราห์ซาไก บ้างก็ว่าเอาแบบอย่างการเล่นลำตัดของไทยผสมเข้าไปด้วย
"ฮูลู หมายถึง คนที่อยู่ห่างไกลความเจริญ เช่น อยู่เชิงเขา อยู่ห่างทะเล นี่คือฮูลู เพราะฉะนั้นลิเกฮูลูจึงเป็นการละเล่นของคนที่อยู่ห่างไกล แต่ในมาเลย์เรียกลิเกปารัต ซึ่งปารัตแปลว่า ทิศตะวันตก คือคนมาเลย์รับศิลปะนี้ไปจากปัตตานี ที่อยู่ทางทิศตะวันตกของเขา ที่มาเลย์เลยเรียกว่า ลิเกปารัต แต่รูปแบบไม่ต่างกันเลย"


อานาชิด = เพลง


 "การขับร้องอานาชิดมีทั้งภาษาอาหรับที่เป็นต้นแบบ และภาษาไทยที่ประยุกต์แล้ว แม้จะเป็นภาษาประยุกต์ แต่ท่วงทำนองหลักก็ยังใช้ทำนองที่เรียกว่า ทำนองทะเลทราย ซึ่งทำนองนี้ถ้าฟังแล้วจะรู้สึกถึงความเป็นอาหรับ อาจจะประยุกต์เข้ากับทำนองสตริง ลูกทุ่ง หรืออะไรบ้าง แต่ก็ยังมีกลิ่นของทะเลทรายมากกว่า" ซาการียาว่า
   เครื่องดนตรีของอานาชิดมีชิ้นเดียว เรียกว่า กุมปัง (กลอง) ใช้ตีประกอบการร้องเพลง ซึ่งจะมีผู้ร้องนำ 1 คน และประสานเสียงอีก 3-4 คน ส่วนมากอานาชิดจะใช้แสดงในมัสยิด ตาดีกา งานรายอ หรือวันออกบวช ซึ่งเนื้อหาของอานาชิดจะเกี่ยวกับวิถีชีวิต สังคม วัฒนธรรมคล้ายลิเกฮูลู ต่างกันเพียงทุกเนื้อหาของอานาชิดจะผูกโยงไว้ด้วยคำสอนของศาสนา ข้อห้าม รวมถึงการเป็นมุสลิมที่ดี


         เป็นการแสดงท่าทางนาคาอันวิจิตร สื่อให้เห็นถึงเรื่องราวตามตำนานที่ พญานาคมีความศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า ถึงขั้นปลอมกายเป็นมนุษย์เพื่ออุปสมบท แต่พญานาคก็ไม่มีสิทธิ์แม้กระทั่งการจะครองผ้าไตรจีวร จุดเด่นขององค์นี้ อยู่ที่ฉากการเข้าอุปสมบทของพญานาค กำลังครองผ้าขาวที่มีความยาวนับสิบเมตร แต่ปลายผ้ากลับมีหางโผล่ออกมา สื่อให้เห็นว่าอย่างไรเสียก็คือนาค และฉากที่สร้างความสะเทือนทางอารมณ์ในความวิจิตรของการแสดงนั้น ก็คือ การที่ไม่สามารถอุปสมบทได้ แต่ขอให้เราจดจำท่านไว้เพื่อเตือนสติเหล่าพุทธบุตร และพุทธศาสนิกชน ด้วยการฝากไวเพียงแต่ชื่อว่าบวชนาค ” 

วัฒนธรรมภาคใต้

วัฒนธรรมภาคใต้



วัฒนธรรมภาคใต้
ภูมิประเทศของภาคใต้มีเอกลักษณ์เฉพาะ คือมีชายฝั่งประกบเทือกเขาสูงที่อยู่ตรงกลาง ซึ่่งไม่มีภูมิภาค อื่นๆ ภูมิประเทศเป็นหลักจึงเป็นเทือกเขาและชายฝั่ง เป็นที่ราบจะมีอยู่เป็นแนวแคบๆ แถบชายฝั่งทะเล และสองฝั่งลำน้ำ การตั้งถิ่นฐานจะอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลทั้งด้านตะวันออกและตะวันตก จากลักษณะทาง ภูมิศาสตร์ของภาคใต้ ทำให้มีคนที่ต่างภาษาต่างวัฒนธรรมอย่างหลากหลายเดินทางเข้ามาภาคใต้มีทั้งชาว พุทธ ชาวมุสลิม ต่างเชื้อชาติกัน เช่น คนไทย คนจีน และผู้ที่มีเชื้อสายมาเลย์ รวมทั้ง ชาวเมือง เช่น ชาวเล อาศัยอยู่กัน วัฒนธรรมภาคใต้จึงมีรูปแบบอันเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ ดังนั้นภาคใต้จึง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจเพราะมีภูมิศาสตร์ที่งดงาม มีชายฝั้งทะเลและมีวัฒนธรรมหรือการดำรงชีวิต ที่เป็นเอกลักษณ์





วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับประเพณีและพิธีกรรม

     ประเพณีชักพระ เป็นประเพณีท้องถิ่นในภาคใต้ตอนกลาง เป็นประเพณีที่เกี่ยวข้องกับความศรัทธาในพระ พุทธศาสนา และวิถีชีวิตชาวใต้ที่มีความผูกพันกับน้ำ ประเพณีชักพระหรือลากพระจัดขึ้นในช่วงออกพรรษาโดยเฉพาะในวันแรม ค่ำ เดือน 11 ด้วยความเชื่อว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากสวรรค์ชั้นดาว ดึงส์ลงมายังโลกมนุษย์ จึงมีการจัดงานเพื่อแสดงความยินดี ประชาชนจึงอัญเชิญพระพุทธองค์ขึ้นประทับ บนบุษบกที่จัดเตรียมไว้ แล้วแห่แหนไปยังที่ประทับ ส่วนใหญ่จะเป็นการจัดขบวนทางเรือ แต่บริเวณใดที่ ห่างไกลแม่น้ำก็จะจัดพิธีทางบก





     
ประเพณีชักพระ ประกอบด้วยขบวนเรือที่ตกแต่งอย่างงดงาม บน เรือที่มีพระพุทธรูปประทับอยู่บนบุษบกเรียกว่า "เรือประทาน หรือเรือ พนมพระ" ที่หัวเรือมีสายเชือกยาวผูกสำหรับลาก เรือพนมพระนิยม ทำเป็นตัวนาค และบนเรือยังมีพระสงฆ์นั่งมาด้วยพิธีจะเริ่มตั้งแต่เช้า มืด โดยมีการจัดทำสลากและนิมนต์พระวัดต่างๆ มาชักผ้าป่าที่หน้า บ้านที่สลากระบุ หลังจากถวายพุ่มผ้าป่าแล้ว พระผู้ใหญ่ที่ได้รับการ เคารพนับถือจะทำพิธีชักพระ ด้วยการจับปลายเชือกที่อยู่หัวเรือ จาก นั้นก็จะปล่อยให้เรือของชาวบ้านเข้าลากจูง ด้วยเชื่อว่าจะได้บุญมาก เรือจะถูกชักลากไปช้าๆ ตลอดเส้นทาง พร้อมกับการตีกลองประโคม เพื่อให้ชาวบ้านรู้ว่าเรือพนมพระกำลังผ่านมา ชาวบ้านสองฝั่งแม่น้ำ จะออกมาตักบาตรเรียกว่า "ตักบาตรเทโว" เมื่อเรือจอดยังที่ที่กำหนดไว้แล้ว จะอัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นประ ดิษฐานบนโรงพิธีสงฆ์ เพื่อทำการสมโภชในวันรุ่งขึ้น วันสุดท้ายจะทำพิธีอัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นเรือกลับสู่ วัด หลังเสร็จพิธีทางศาสนาแล้วก็มีงานรื่นเริงของชาวบ้าน คือ "การแข่งเรือยาว" ประเพณีชักพระที่มีชื่อ เสียง คือ ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่มีแม่น้ำตาปีให้ความชุ่มฉ่ำแก่ชาวบ้านมาตั้งแต่อดีต



เมื่อถึงเช้าตรู่ของวันแรม ค่ำ เดือน 11 จะอาราธนาพระพุทธรูป ขึ้นประดิษฐานบนบุษบกเหนือเรือพระ นิมนต์พระภิกษุในวัดนั้นทั้ง หมดขึ้นนั่งประจำเรือ พร้อมทั้งอุบาสกและศิษย์วัดที่จะติดตาม และ ประจำเครื่องประโคมอันมี โพน (กลองเพล) ฆ้อง โหม่ง ฉิ่งฉาบ แล้ว ชาวบ้านก็จะช่วยกันลากเรือพระออกจากวัด (ภิกษุที่จะร่วมไปด้วย ต้องรับฉันภัตตาหารเช้าให้เรียบร้อยเสียก่อน) ถ้าเป็นลากพระทางน้ำ ก็จะใช้เรือพายลาก ถ้าเป็นการลากพระทางบก ก็จะใช้คนเดินลาก แล้วแต่กรณี ขณะที่ลากเรือพระไป ใครจะมาร่วมแขวนต้มบูชาพระ หรือร่วมลากตอนไหนก็ได้ เกือบทุกท้องถิ่นกำหนดให้มีจุดนัดหมาย เพื่อให้บรรดาเรือพระทั้งหมดในละแวกใกล้เคียง ไปชุมนุมในที่เดียว กันในเวลาก่อนพระฉันเพล ให้พุทธศาสนิกชนได้มีโอกาส "แขวนต้ม" และถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุสาม เณรได้ทั่วทุกวัด หรือมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โอกาสนี้จึงก่อให้เกิดการประกวดประชันกันขึ้นโดยปริยาย
เช่น การประกวดเรือพระ การแข่งขันเรือพาย การเล่นเรือโต้แก้จำกัด การประกวดเรือเพรียวประเภทต่างๆ เช่น มีฝีพายมากที่สุด แต่งตัว สวยงามที่สุด หรือตลกขบขัน หรือมีความคิดริเริ่มดีมี การแข่งขันตี โพนประเภทตีดัง ตีทน ตีท่าพลิกแพลงลีลาการตีสวยงาม เป็นต้น และ บางทีก็มีกิจกรรมแปลกๆ เช่น กีฬาซัดต้ม การประกวดเรือพระ สมัยก่อนมักให้รางวัล เป็นของที่จำเป็นสำหรับวัด เช่น น้ำมันก๊าด กา น้ำ ถ้วยชาม สบง จีวร เสนาสนะสงฆ์ แต่ปัจจุบันรางวัลมักจะให้เป็น เงินสด
สำหรับในท้องถิ่นจังหวัดปัตตานี การชักพระทางบก ตามที่ผู้เฒ่า ผู้แก่เล่าให้ฟังว่า วัดสุวรรณากร (วัดบ่อทอง) วัดโมลีนิมิตร (วัดหรั่ง) วัดหน้าเกตุ วัดมะกรูด วัดปุราณประดิษฐ์ (วัดบู) วัดมะเดื่องทอง (กา โผะ) วัดสมุทรวารี (ป่าโทะ) วัดโรงวาส และวัดใกล้เคียงในอำเภอ หนองจิก อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี และอำเภอเทพา อำเภอจะ นะ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา ได้ชักลากพระวันแรม ค่ำ เดือน 11 ไปตามเส้นทางสู่หน้าที่ว่าการอำเภอโคกโพธิ์ เป็นจุดหมาย ปลายทาง และมีการเฉลิมฉลองกันอย่างสนุกสนาน มีมหรสพให้ชม ตลอดทั้งคืน มีการประกวดเรือพระ รุ่งเช้าจะมีการทำบุญเลี้ยงพระ ตกช่วงบ่ายชักชวนกันลากพระกลับวัด ปัจจุบันประเพณีชักพระอำ เภอโคกโพธิ์ มีการสมโภชและการเฉลิมฉลองกันเป็นเวลา วัน คืน ซึ่งเป็นประเพณีที่ภาคภูมิใจของชาว ไทยพุทธ ส่วนการชักพระทางน้ำ ทุกวัดต้องมีการสร้างพระเรือครัว เรือพายหญิง เรือพายชายตกแต่งประดับประดาอย่างสวยงาม และจะมีการลากพระล่วงไปตามลำน้ำยามู สู่ บ้านท่าทราย ใต้ต้นไทรใหญ่ กิ่งไพศาล ริมน้ำยามู รวมหมู่เทียบเรือ พระสมโภชตักบาตร เลี้ยงพระเสร็จแล้ว มีการแข่งขันเรือพายหญิง เรือพายชาย ไล่สาดน้ำกัน เกี้ยวพาราสี ร้องเพลงขับกล่อมตามประ เพณีนิยมท้องถิ่นจนพลบค่ำ ประเพณีลากพระได้ปรับเปลี่ยนเติมแต่ง ต่างออกไปจากเดิมหลายอย่าง เช่น นิยมใช้เรือหางยาวแทนเรือ เพรียว เพราะจากเรือขนาดใหญ่ทำเรือพระได้ยากขึ้น มีการใช้ รถยนต์มาดัดแปลงแทนล้อเลื่อน มีการตกแต่งบุษบกหรือ "นมพระ"ด้วยวัสดุสมัยใหม่ เช่น โฟม กระดาษ พลาสติก หลังคาซ้อนกันเป็น จตุรมุขก็มี บางวัดมีการนำเอากลองยาวมาประกอบขบวนแห่ 


ขนมจีนชาวใต้

การทำน้ำบูดู


วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหาร
        อาหารพื้นบ้านภาคใต้มีรสชาติโดด เด่นเป็นเอกลักษณ์ เฉพาะสืบเนื่องจากดินแดนภาคใต้เคยเป็นศูนย์
กลางการเดิน เรือค้าขายของพ่อค้าจากอินเดีย จีนและชวาในอดีตทำให้วัฒน ธรรมของชาวต่างชาติโดย เฉพาะอินเดียใต้ซึ่งเป็นต้นตำรับใน การใช้เครื่องเทศปรุงอาหารได้เข้ามามีอิทธิพลอย่างมาก 
       อาหารพื้นบ้านภาคใต้ทั่วไป มีลักษณะผสมผสานระหว่าง อาหารไทยพื้นบ้านกับอาหารอินเดียใต้ เช่น น้ำ
บูดู ซึ่งได้มาจากการหมักปลาทะเลสดผสมกับเม็ดเกลือ และมีความคล้ายคลึงกับอาหารมาเลเซียอาหาร ของภาคใต้จึงมีรสเผ็ดมากกว่าภาคอื่น ๆ และด้วยสภาพภูมิศาสตร์อยู่ติดทะเลทั้งสองด้าน มีอาหารทะเล อุดมสมบูรณ์ แต่สภาพอากาศร้อนชื้นฝนตกตลอดปี อาหารประเภทแกงและเครื่องจิ้ม จึงมีรสจัดช่วยให้ร่าง กายอบอุ่นป้องกันการเจ็บป่วยได้อีกด้วย

การกิน ลักษณะเด่นของการรับประทานอาหารของชาวภาคใต้ คือ มีผักสารพัดชนิดเป็นผักจิ้มหรือผักแกล้มในการรับประทาน อาหารทุกมื้อ ภาษาท้องถิ่น เรียกว่า "ผักเหนาะ" ความนิยมใน การรับประทานผักแกล้มอาหารของชาวใต้ เป็นผลมาจากการที่ ภาคใต้มีพืชผักชนิดต่างๆ มาก และหาได้ง่าย คนใต้นิยมรับประ ทานอาหารเผ็ด จึงต้องมีผักแกล้ม เพื่อช่วยบรรเทาความเผ็ด และเพื่อชูรสอาหาร อาหารท้องถิ่นยังนิยมใส่ขมิ้นในอาหาร นิยมรับประทาน "ขนมจีน" รองจากข้าว ใส่เคยหรือกะปิเป็น เครื่องปรุงรสอาหาร ชาวไทยมุสลิมนิยมรับประทานน้ำบูดู ซึ่ง เป็นน้ำที่หมักจากปลา แล้วนำมาเคี่ยวปรุงรสให้ออกเค็มๆ หวานๆ นับเป็นอาหารที่ขาดไม่ได้ของชาวไทยมุสลิม
          อาหารปักษ์ใต้แม้จะเป็นอาหารที่อร่อย น่าลิ้มลอง แต่สิ่งหนึ่งที่ประทับใจผู้คน คือความเผ็ดร้อนของรส ชาติอาหารผู้คนในภาคใต้นิยมรสอาหารที่เผ็ดจัด เค็ม เปรี้ยว แต่ไม่นิยมรสหวาน รสเผ็ดของอาหารปักษ์ ใต้มาจากพริกขี้หนูสด พริกขี้หนูแห้งและพริกไทย ส่วนรสเค็มได้จากกะปิ เกลือ รสเปรี้ยว ได้จากส้มแขก น้ำ ส้มลูกโหนด ตะลิงปลิง ระกำ มะนาว มะขามเปียก และมะขามสด เป็นต้น
          เนื่องจากอาหารภาคใต้มีรสจัด อาหารหลาย ๆ อย่างจึงมีผักรับประทานควบคู่ไปด้วยเพื่อลดความเผ็ด ร้อนลงซึ่งคนภาคใต้ เรียกว่า ผักเหนาะ หรือบางจังหวัดอาจเรียกว่า ผักเกร็ด ผักเหนาะของภาคใต้มีหลาย อย่าง บางอย่างก็เป็นผักชนิดเดียวกับภาคกลาง เช่น มะเขือเปราะ ถั่วฝักยาว ถั่วพู ฯลฯ แต่ก็มีผักอีกหลาย อย่างที่รู้จักกันเฉพาะคนภาคใต้เท่านั้น การเสิร์ฟผักเหนาะกับอาหารปักษ์ใต้ ชนิดของผักจะคล้ายๆ กัน หรือ
อาจเป็นผักที่ผู้รับประทานชอบก็ได้